วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การสืบราชสันตติวงศ์

การสืบราชสันตติวงศ์

                ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาแต่โบราณ การสืบราชสมบัติหรือการสืบราชสันตติวงศ์มีการพัฒนาสืบเนื่องมาตั้งแต่ยังไม่มีกฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนที่แน่นอนจนมาถึงได้กำหนดเป็นหลักเกณฑ์ที่เป็นระเบียบมีความชัดเจนและแน่นอน เพื่อเป็นหลักประกันความคงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์เพราะจะทำให้รู้ว่าประมุขในรูปแบบนี้มีที่มาอย่างไรและจะยังคงอยู่ต่อไปไม่ขาดช่วงและจะเกิดความแน่นอนและไม่ทำให้ราษฎรสับสน ดังที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับประวัติศาสตร์ของชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้

ความหมาย

“สืบราชบัลลังก์ หรือ สืบราชสมบัติ” หมายถึง เป็นพระมหากษัตริย์ต่อเนื่องแทน
“สืบราชสันตติวงศ์” หมายถึง ครองราชย์สมบัติต่อจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนซึ่งอยู่ในราชวงศ์เดียวกัน เช่น กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.๒๔๖๗
“การสืบราชสมบัติ” หมายถึง การขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งนับต่อเนื่องจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนมิให้ขาดตอนกัน อันเป็นธรรมเนียมในนานาประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐหรือประเทศ
“กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์” หมายถึง กฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสืบราชสมบัติ
“การสืบราชสันตติวงศ์” หมายถึง การขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ต่อเนื่องแทนพระมหากษัตริย์องค์ก่อนในราชวงศ์เดียวกัน อันเป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์และรัฐธรรมนูญ

ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป           ประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตลอดมา การสืบราชสมบัติในอดีตมิได้มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเป็นระเบียบแบบแผน หากจะมีเพียงกฎมณเฑียรบาล ซึ่งอาจจะกำหนดในเรื่องอื่นๆ ไว้ แต่มิได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติหรือการสืบราชสันตติวงศ์ไว้อย่างชัดเจน คงเป็นเพราะเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ
              จนมาถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ในปี พ.ศ.๒๔๖๗ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ขึ้น เพื่อ “เป็นหลักฐานแถลงราชนิติธรรม” กำหนดกฎเกณฑ์ในการสืบราชสมบัติอย่างชัดเจน นับเป็นกฎมณเฑียรบาลที่สำคัญยิ่งกว่ากฎมณเฑียรบาลทั้งปวง และเป็นการแสดงความเป็นอารยประเทศอย่างยิ่งเพราะบรรดาประเทศทั้งหลายย่อมต้องมีกฎหมายกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับประมุขของตนให้เป็นที่ปรากฏชัดแจ้ง เป็นการตัดความหวาดระแวงและความไม่แน่นอนต่างๆ ในเกือบทุกประเทศถึงกับกำหนดลงไว้อย่างละเอียดในรัฐธรรมนูญ เช่น เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น

- การสืบราชสมบัติก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย
            ประเพณีการสืบราชสมบัติของไทยแต่เดิมจะมีระเบียบแบบแผนอย่างใดไม่ปรากฏ แม้จะเคยมีกฎมณเฑียรบาลตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ก็มิได้แสดงว่าเมื่อราชบัลลังก์ว่างลงใครจะเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายและจะเข้าสู่ตำแหน่งพระมหากษัตริย์โดยวิธีใด
              นักประวัติศาสตร์ไทยสันนิษฐานว่า เป็นเรื่องตามพระราชอัธยาศัยเพราะเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่ละองค์ที่จะทรงกำหนดยกราชสมบัติให้แก่ผู้ใด แต่มีการกำหนดตำแหน่ง “พระมหาอุปราช” ซึ่งมักจะเป็นผู้ได้รับราชสมบัติเมื่อราชบัลลังก์ว่างลง มิใช่พระราชโอรส พระราชอนุชา หรือพระราชนัดดา แต่ถ้าไม่มีการสถาปนาพระมหาอุปราชและพระมหากษัตริย์มิได้ทรงกำหนดสถาปนาใครไว้ อำนาจในการเลือกผู้สืบราชสมบัติมักตกอยู่แก่พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่
              ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงกำหนดตำแหน่งซึ่งเคยมีมาในสมัยอยุธยาขึ้นมาใหม่คือ ตำแหน่ง “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” (วังหน้า) แทนตำแหน่ง “พระมหาอุปราช” และเป็นธรรมเนียมตั้งแต่นั้นมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งจะเป็นผู้สืบราชสมบัติต่อไปในทำนองรัชทายาท และแต่งตั้งตำแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร”
               ในรัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งพระราชอนุชา คือ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล องค์แรก แต่เสด็จทิวงคตลง จึงได้ทรงตั้งพระราชโอรส คือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร(อิม) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล องค์ที่สอง และได้สืบราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๒
               ในรัชกาลที่ ๒ ทรงตั้งพระอนุชา คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ (จุ้ย) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นองค์ที่ ๓ แต่ก็เสด็จทิวงคตก่อน
               ในรัชกาลที่ ๓ ทรงตั้งพระปิตุลา คือ พระองค์เจ้าอรุโณทัย กรมหมื่นศักดิผลเสพย์ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล องค์ที่ ๔
                ในรัชกาลที่ ๔ มิได้ทรงตั้งใครดำรงตำแหน่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
                ในรัชกาลที่ ๕ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่พร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์กรมขุนพินิตประชานาถ ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และอัญเชิญกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล องค์ที่ ๕
                 เมื่อกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จทิวงคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงยกเลิกตำแหน่ง “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” ทันที โดยมีพระราชหัตถเลขาอธิบายว่า “ผู้ที่อยู่ต่างประเทศก็ไม่อาจที่จะเข้าใจตำแหน่งนั้นได้ชัดเจน...เป็นตำแหน่งลอยอยู่ มิได้มีคุณต่อแผ่นดินอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นแต่ต้องใช้เงินแผ่นดินซึ่งจะต้องใช้รักษาตำแหน่งยศพระมหาอุปราชอยู่เปล่าฯ”
                หลังจากทรงยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว ในปี พ.ศ.๒๔๒๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร อันเป็นตำแหน่งรัชทายาท เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Crown Prince แต่ก็เสด็จทิวงคตในเวลาต่อมา
                 ในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ที่สอง และต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
                 หลังจากนั้นก็ไม่มีการสถาปนาตำแหน่งดังกล่าวอีก จนกระทั่งมาถึงในรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ ๙) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร นับเป็นพระองค์ที่ ๓ ซึ่งถือเป็นรัชทายาท
                  ในปี พ.ศ.๒๔๖๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายขึ้นฉบับหนึ่งชื่อว่า “กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗” ด้วยเหตุผลว่า “ให้มีนิติธรรมกำหนดการสืบราชสันตติวงศ์ขึ้นไว้ เพื่อที่จะได้ตัดความยุ่งยากแก่งแย่งภายในพระราชวงศ์ ในเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทขึ้นไว้โดยแน่นอน”

- การสืบราชสมบัติภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย
                 การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การสืบราชสมบัติอยู่บ้างในแง่ที่ว่าทำให้กฎเกณฑ์นั้นมั่นคงเป็นหลักฐานมากขึ้น คือพระราชอำนาจในการกำหนดรัชทายาทหรือผู้สืบราชสันตติวงศ์ ซึ่งต่อไปนี้จะต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด จะเป็นไปโดยพระราชพินัยกรรมอีกหาได้ไม่
                 การสืบราชสมบัติภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย จะต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ โดยใช้ประกอบกับกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗
สรุปได้ว่า ตำแหน่งหรือผู้มีสิทธิที่มีสิทธิในการสืบราชสมบัติของไทย ดังนี้
๑. การกำหนดตำแหน่ง
ในสมัยอยุธยา ได้กำหนดตำแหน่ง “พระมหาอุปราช”

               ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ กำหนดตำแหน่ง “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” (วังหน้า) และเปลี่ยนเป็นตำแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” หรือในกรณีที่ไม่ได้ทรงกำหนดตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารไว้ เจ้านายเชื้อพระวงศ์ก็ต้องได้รับสมมติยกย่องจากพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและขุนนางอันเชิญขึ้นครองราชย์

๒. การแต่งตั้งเป็นรัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาล หรือโดยพระราชพินัยกรรม 

            ในสมัยรัชกาลที่ ๖ แม้จะมีการตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ขึ้นแล้ว แต่ก็ทรงทำพระราชพินัยกรรมไว้ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๘ ว่าถ้าทรงมีพระราชโอรส ให้พระราชโอรสสืบราชสมบัติ ถ้ายังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะให้สมเด็จพระน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปก เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต้ถ้าไม่มีพระราชโอรสก็ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์

๓. การสืบราชสันตติวงศ์เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ 
              ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมีรัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ว่าจะต้องมีฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา) เข้ามามีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการเห็นชอบหรือรับทราบการสืบราชสันตติวงศ์ ทั้งนี้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดไว้

              พระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ขึ้นครองราชย์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ในปี พ.ศ.๒๔๗๗ เป็นอันว่ากฎและเกณฑ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ได้เริ่มใช้เป็นผลอย่างแท้จริงในเวลาอีก ๑๐ ปี ต่อมาภายหลังประกาศใช้ และพระองค์ที่สอง คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) รัชกาลปัจจุบัน

ประเพณีบุญผะเหวด

ประเพณีบุญผะเหวด


ความสำคัญ
บุณผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน แต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน ก็เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไป ของชาวอีสานว่า ดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือน ๓ พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้ มาร้อยเป็นมาลัยเพื่อตกแต่งศาลาการเปรียญสำหรับบุญมหาชาติและในงานนี้ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียว และบำเพ็ญคุณงามความดี จะได้อานิสงส์ไปเกิดในภพหน้า
พิธีกรรม

ชาวอีสาน จะจัดทำบุญผะเหวด ปีละ ๑ ครั้ง ระหว่างเดือน ๓ เดือน ๔ ไปจนถึงกลางเดือน ๕ จังหวัดร้อยเอ็ด จะจัดประเพณีบุญผะเหวดในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี โดยจะมีวันรวมตามภาษาอีสาน เรียกว่า วันโฮมบุญ พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลาหรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ เป็นที่เก็บข้าวพันก้อน และเครื่องคาวหวาน สำหรับ ผี เปรต และมารรอบๆ ศาลาการเปรียญจะแขวนผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ ๑ ถึงกัณฑ์สุดท้าย การจัดงานบุญผะเหวด หรือ งานเทศน์มหาชาตินิยมที่อัญเชิญพระอุปคุต มาปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัยอันตรายทั้งปวง และให้โชค ลาภแก่พุทธศาสนิกชนในการทำบุญมหาชาติ จึงมีการแห่พระอุปคุต ซึ่งสมมุติว่า อัญเชิญมาจาก สะดือทะเล
สาระ

บุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ คืองานมหากุศล ให้รำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือ ความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลคือ ประโยชน์สุขอันไพศาลของมวลชนมนุษย์ชาติ เป็นสำคัญ ดังนั้น บรรพชนชาวไทยอีสานแต่โบราณ จึงถือเป็นเทศกาลที่ประชาชนทั้งหลายพึงสนใจร่วมกระทำบำเพ็ญ และได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบมา จนถึงอนุชนรุ่นหลังที่ควรเห็นคุณค่าและอนุรักษ์เป็นวัฒนธรรมสืบไป
นอกจากนี้ยังเป็นการสังสรรค์ ระหว่างญาติพี่น้องจากแดนไกลสมกับคำกล่าวที่ว่า "กินข้าวปุ้น เอาบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ"

ประเพณีวันลอยกระทง

วันลอยกระทง

ประวัติวันลอยกระทง

            ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่ปรากฏกล่าวได้ว่ามีมาตั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนามีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา (แม่น้ำนัมมทา เป็นแม่น้ำที่คู่ขนานกับทิวเขาวินธัย ไหลลงภาคตะวันตกของอินเดียแบ่งเขตอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้) ตำนานที่หาหลักฐานยืนยันมิได้ กล่าวไว้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป ดังปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์กล่าวถึงพระดำรัสของพระร่วงว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปอดกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1 จากนั้นในสมัยรัชกาลที่2 ได้เปลี่ยนแปลงจากการทำจากดอกบัวเป็นต้นกล้วยเพราะดอกบัวดังกล่าวหายากและมีน้อยจึงใช้ต้นกล้วยทำแทนแล้วดูไม่สวยจึงใช้ใบตองมาพับแต่งจนสวยในที่สุดจนสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้

ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

  • นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมาภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวลม" หรือ "ว่าวไฟ" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูนประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
    • จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี"ยี่เป็ง"เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
    • จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
    • จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
  • ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
    • จังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็นตัวแทนจัดงานลอยกระทงของภาคอีสาน ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน โดยมีชื่องานประเพณีว่า " สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป " ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง ความพิเศษของงานมีการแสดง แสงสีเสียง ตำนานเมืองร้อยเอ็ด จัดให้มีการตกแต่งบริเวณเกาะบึงพลาญชัย(สถานที่จัดงาน)ให้เป็นเกาะสวรรค์ ตกแต่งสวยงาม ยิ่งใหญ่ มีขบวนกระทงอาเซียน มีการประกวดกระทงประทีปใหญ่ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดกระทงอนุรักษ์ธรรมชาติ การประกวดขบวนแห่กระทงประทีป 12 หัวเมือง ตามตำนานเมืองร้อยเอ็ด การประกวดรำวงสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป การประกวดธิดาสาเกตนคร และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้จังหวัดร้อยเอ็ดยังได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ทั้งสองพระองค์ ทรงพระราชทานพระประทีปส่วนพระองค์ ร่วมลงลอยในบึงพลาญชัยทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542
    • จังหวัดสกลนคร ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล
  • ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
    • กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
    • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
  • ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ตอนที่2
ศาสนายิว(Judaism)




ประวัติความเป็นมา 
ศาสนายูดาห์เป็นศาสนาของชนชาติยิว ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพวกเสมิติก ที่แตกแยกมาจากภาคเหนือของทวีปเอเชีย และได้แพร่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศปาเลสไตน์ ต่อมาพวกฮีบรู บางพวกได้ตกเป็ยเชลยถูกกวาดต้อนไปอยู่ในประเทศอียิปต์แต่ทนการกดขี่ข่มเหงของพวกอียิปต์ไม่ไหว จึงพากันหลบหนีข้ามทะเลแดงไปรวมกันอยู่ในประเทศปาเลสไตน์อีก ดินแดนแห่งนี้มีชนชาติคานาอันหรือคานาไนต์อาศัยอยู่ พวกคานาอันเรียกพวกที่เข้ามาใหม่ว่า"ฮีบรู" แต่เพราะพวกยิวแสดงตัวว่าเป็นผู้มาดี พวกคานาอันจึงไม่รังเกียจ พวกฮีบรูมีหัวหน้าคนหนึ่งชื่อว่า "ยาคอบ" แต่เวลาทำพิธีทางศาสนาจะเรียกตัวเองว่า "อิสราเอล"
พวกยิวสืบเชื้อสายทางศาสนามาจากพวกคานาอันซึ่งนับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ "พระยะโฮวา" พวกยิวก็นับถือพระยะโฮวาด้วย และต่อมายังได้นับถือพระเจ้าของคานาอันอีกองค์หนึ่งด้วย คือ "พระเจ้าอาฮีรา" แต่ในที่สุดก็เลิกนับถือพระเจ้าอาฮีรา คงเหลือแต่พระยะโฮวาองค์เดียวแต่พวกยิวยังถูกข่มเหงรังแกจากพวกอียิปต์อีก ครั้งนี้เกือบทำให้ชาวยิวเลิกนับถือพระยะโฮวาแต่ได้อาศัยโมเสสซึ่งเป็นต้นกำเนิดศาสนายูดาห์(ยิว) ได้ชี้แจงจูงใจ และหว่านล้อมให้ชนชาวยิวนับถือพระยะโฮวาอย่างมั่นคงเหมือนเดิมหลังจากที่ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์

ศาสดา โมเสส เป็นศาสดาของศาสนายูดาห์ บิดาชื่อ อัมราม มารดาชื่อ โยเคเบด บิดามารดาของโมเสสสังกัดอยู่ในเผ่าเลวีของอิสราเอล สันนิษฐานกันว่า โมเสสเกิดในรัชสมัยของฟาโรห์ราเมสที่ 2 ก่อนปี ค.ศ. 1225-1292 ในสมัยนั้นประเทศอียิปต์มีนโยบายในการลดจำนวนคนยิว เนื่องจากจำนวนชาวยิวเพิ่มมากขึ้นและแข็งแกร่งขึ้น ฟาห์โรเกรงว่าชาวยิวจะรวมกับพวกข้าศึกกลับมาโจมตีพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงมีบัญชาว่าเด็กชายที่เกิดมาในตระกูลของอิสราเอลทุกคนต้องถูกจับประหารชีวิต
มารดาบิดาของโมเสสกลัวว่าบุตรชายของตนจะไม่ปลอดภัยจึงซ่อนบุตรชายไว้เป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาเมื่อพิจารณาเห็นว่าไม่ปลอดภัยแน่แล้วจึงได้นำบุตรชายใส่ตะกร้าลอยแพอธิษฐานเสี่ยงบุญไปตามแม่น้ำไนล์ เผอิญวันนั้นพระราชธิดาของฟาโรห์เสด็จลงสรงน้ำตอนใต้ของแม่น้ำไนล์ ทรงเห็นตะกร้าลอยมาจึงทรงลากมาดู ทรงเห็นเด็กน้อยน่ารักเกิดความสงสารอย่างจับพระทัยแล้วจึงนำไปเลี้ยงไว้ในฐานะบุตรบุญธรรม โดยขนานนามให้ว่า โมเสส พี่สาวของโมเสสชื่อมีเรียม ได้อาสาเป็นผู้เลี้ยงโมเสสและมารดาของโมเสสก็ได้รับคำสั่งให้ไปเลี้ยงโมเสสอีกคนด้วย
วันหนึ่ง มารดาผู้ให้กำเนิดโมเสสได้บอกความจริงเกี่ยวกับชีวิตที่แท้จริงให้ทราบ จุดนี้เองถือว่าเป็นระยะที่สำคัญที่สุดในการเตรียมการของโมเสสเพื่อการอพยพชาวยิวจากอียิปต์ โมเสสได้ศึกษากฎหมายโบราณ และการฝึกทางด้านการทหารจนทำให้โมเสสได้ความรู้ด้านการเป็นผู้นำคน
วันหนึ่งโมเสสได้เห็นชาวอียิปต์ผู้เป็นหัวหน้าการก่อสร้างแสดงอาการโหดร้ายทารุณต่อคนงานชาวยิวจนเกิดทะเลาะกันขึ้น โมเสสจึงฆ่าหัวหน้าผู้คุมงานคนนั้นตายไป เมื่อข่าวนี้ได้ทราบถึงฟาโรห์ พระองค์ทรงกริ้วอย่างรุนแรงและรับสั่งให้สำเร็จโทษโมเสส แต่โมเสสรู้ตัวจึงได้หลบหนีไปก่อนแล้วโดยไปอาศัยอยู่ในดินแดนมิเดีย โดยอาศัยอยู่กับบ้านหลวงพ่อยิวคนหนึ่งชื่อ เชโธร์ และในที่สุดก็ได้แต่งงานกับบุตรสาวหลวงพ่อชื่อ ชิปโปราห์
เมื่อสิ้นสมัยของฟาโรห์ราเมสที่ 2 แล้ว เมอร์เนปตาห์ราชโอรสได้ครองราชย์แทน โมเสสและเพื่อนชื่ออารอนได้เดินทางกลับไปสู่ดินแดนอียิปต์เพื่อขอร้องต่อพระเจ้าเมอร์เนปตาห์ ให้ชาวยิวทั้งมวลออกไป
จากอียิปต์ส฿่ดินแดนสัญญา คือ ปาเลสไตน์
ขณะนั้นโมเสสอายุ 80 ปี ได้นำชาวยิวอพยพออกจากอียิปต์ ในขณะเดียวกันฟาโรห์ทรงเกิดความระแวงในโมเสสและชาวอิสราเอล จึงรับสั่งให้ทหารและรถม้าออกติดตามเพื่อสังหารชาวยิวให้ตาย แต่บังเอิญเกิดปาฏิหาริย์คือน้ำทะเลแดงได้แยกให้ทางแก่โมเสสและชาวยิวข้ามน้ำไปได้ถึงฝั่ง แต่พอทหารฟาโรห์มาถึงและรีบข้ามน้ำตามไปอย่างรวดเร็ว ทหารของอียิปต์ทั้งหมดก็ถูกน้ำปิดเข้าอย่างเดิมและท่วมทหารอียิปต์ตายจนหมดสิ้น
วันหนึ่ง โมเสสได้ปลีกตัวออกจากคณะไปพักสงบอยู่บนยอดเขาซีนายเป็นเวลาถึง 40 วัน 40 คือ และ ณ ภูเขานี้โมเสสได้รับบัญญัติ 10 ประการ จากพระยะโฮวาผู้เป็นเจ้า บัญญัติดังกล่าวบันทึกบนแผ่นหิน 2 แผ่น โมเสสได้นำแผ่นหินนี้มาประกาศให้ชาวยิวทั้งหมดทราบและสามารถทำให้ทุกคนเชื่อตาม โมเสสได้พาชาวยิวเร่ร่อนไปเป็นเวลานานถึง 40 ปี ยังไม่ถึงแดนสัญญาหรือปาเลสไตน์ เพราะโมเสสถึงแก่กรรมก่อนเมื่อถึงภูเขาเนโป รวมอายุได้ 120 ปี

คัมภีร์
คัมภีร์ของศาสนายูดาห์มี 3 คัมภีร์ ดังนี้ 1. คัมภีร์เก่า (Old Testament) กล่าวถึงการแก้แค้นและการส่องสว่างของพระยะโฮวา และกล่าวว่าพระยะโฮวาเป็นผู้พิพากษาโลก นอกนั้นยังบรรจุคำสรรเสริญพระเจ้าพร้อมด้วยสุภาษิตอันเป็นคำสอน เช่น สอนไม่ให้กีดกันความดีจากคนที่ควรแก่ความดี
2. คัมภีร์โทราห์ (Torah) มีความหมายกว้างขวางมาก แบ่งออกเป็น 2 สาย ดังนี้

1. บทบัญญัติที่เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
2. บทบัญญัติที่ท่องจำกันมาด้วยปากเปล่า และคัมภีร์โทราห์นี้หมายรวมเอาคัมภีร์เก่าด้วย 
3. คัมภีร์ทาลมุด (Talmud) ได้แต่งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 390 - 420 เป็นคัมภีร์ที่กล่าวโจมตีพระเยซูรุนแรงมาก หรืออีกนัยหนึ่งคัมภีร์ทาลมุดเป็นงของศาสนายูดาห์ในการเป็นปฏิปักษ์กับพระเยซู

หลักธรรม กฎบัญญัติสูงสุดในศาสนายูดาห์ คือ บัญญัติ 10 ประการ ข้อความในพระบัญญัตินั้นครอบคลุมไปทั้งด้านศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นรากฐานของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วินัยและศีล มีดังนี้
1. อย่าได้มีพระเจ้าอื่นต่อหน้าเราเลย
2. อย่าทำรูปปั้นสำหรับตน
3. อย่าออกพระนามของพระยะโฮวาพระเจ้าของเจ้าเปล่าๆ
4. จงระลึกถึงวันซะบาโตถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์
5. จงนับถือบิดามารดาของเจ้า
6. อย่าฆ่าคน
7. อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา
8. อย่าลักทรัพย์
9. อย่าเป็นพยานเท็จต่อเพื่อนบ้าน
10. อย่าโลภเรือนของเพื่อนบ้าน อย่าโลภภริยาของเพื่อนบ้าน หรือทาสาทาสีของเขา หรือสิ่งใดๆที่เป็นของเพื่อนบ้าน

นิกาย
ศาสนายูดาห์ แบ่งเป็นนิกายใหญ่ๆ 2 นิกาย ดังนี้1. นิกายออร์ทอดอกซ์ เป็นนิการที่มีความเคร่งครัด ถือปฏิบัติตามคัมภีร์โทราห์ เชื่อในบทบัญญัติของโมเสสและของแรบไบ (Rabbi) คืออาจารย์หรือพระในศาสนายูดาห์ 
2. นิกายโปรเกรสสีฟ เป็นนิกายที่ไม่เคร่งครัดนัก คือเป็นนิกายที่มีหัวก้าวหน้า นับถือกันในหมู่ปัญญาชนคนสมัยใหม่

พิธีกรรม
ในศาสนายูดาห์มีพิธีกรรมที่สำคัญ ดังนี้ 1. วันซะบาโต(Sabbath) คือวันที่เจ็ดของสัปดาห์ ถือเป็นวันบริสุทธิ์ ห้ามทำกิจกรรมใดๆทุกประการ ใช้เวลาทั้งหมดเป็นวันพักผ่อน สวดมนต์อธิษฐานภาวนา การอ่านคัมภีร์นมัสการและของคุณพระเจ้า 
2. พิธีปัสคา(Pesach) เป็นพิธีกรรมสำคัญเกิดในสมัยของโมเสส เมื่อคืนวันก่อนที่ชาวยิวจะอพยพออกจากอียิปต์ พระเจ้าได้สั่งให้ชาวยิวฆ่าแกะและทำอาหารรับประทานกับขนมปังไม่มีเชื้อและให้รับประทานให้หมดในวันเดียว แล้วให้ทุบหม้อไห และเครื่องครัวทั้งหมด แล้วให้เอาเลือดแกะป้ายไว้ที่หน้าประตูเพราะในเวลากลางคืน พระเจ้าจะส่งทูตมรณะมาฆ่าทุกคนที่ไม่ใช่ชาวยิว ถ้าประตูบ้านของใครมีเลือดแกะทาอยู่ทูตมรณะจะข้ามไป จึงเรียกว่า ปัสคา แปลว่า ข้ามไป ชาวยิวฉลองวันนี้ด้วยการเลี้ยงใหญ่ และอธิษฐานของคุณพระเจ้า พิธีนี้ใช้เวลา 8 วัน ในวันสุดท้ายมีการฉลองใหญ่และทุกคนก็ร้องขึ้นพร้อมกันว่า "ปีหน้าพบกันที่เยรูซาเล็ม" 
3. พิธีฉลองปีใหม่ที่เรียกว่า ร็อช ฮัชชานาร์ (Rosh Hashanah)
สัญลักษณ์ ศาสนายูดาห์ ใช้เครื่องหมายเดิมคือ เชิงเทียน 7 กิ่ง แต่ปัจจุบันใช้รูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน 2 รูปเป็นดาว 6 แฉก ซึ่งเป็นตราเครื่องหมายประจำของกษัตริย์ดาวิด และเป็นเครื่องหมายในธงชาติอิสราเอลด้วย นอกจากนี้แล้ว ชาวยิวถือว่ามหาวิหาร ณ กรุงเยรูซาเล็มที่กษัตริย์โซโลมอนทรงสร้างขึ้น ก่อนคริสต์ศักราช 900 ปี เป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ ขณะนี้เหลือแต่ซากกำแพงเรียกว่า กำแพงร้องไห้ (Wailing Wall) เป็นสถานที่ชาวยิวทั่วโลกต่างหลั่งไหลกับไปไหว้ ถือว่ากำแพงนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นเอกภาพของชาวยิว ชาวยิวจะจูบกำแพงนี้แล้วซบศีรษะกับกำแพงร้องไห้ เพื่อรำลึกถึงความยิ่งใหญ่ของชาติยิวในอดีต โดยเฉพาะในวันศุกร์

Cr.https://sites.google.com

ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
ตอนที่1 "พิธีถือศีลอด"


ตอนที่2 "ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ"

115431704115431704

ในวันสารทไทย วันแรม๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ชาวเพชรบูรณ์จะร่วมใจกันอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา พระคู่บ้านคู่เมืองเพชรบูรณ์เข้าพิธีดำน้ำที่สืบทอดปฏิบัติกันต่อมาหลายรุ่นหลายสมัยจนกลายเป็นประเพณีอุ้มพระน้ำเป็นประจำทุกปี โดยมีพ่อเมืองเพชรบูรณ์หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ทำหน้าที่อัญเชิญลงดำน้ำที่บริเวณท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร ด้วยเชื่อกันว่าการอุ้มพระดำน้ำจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวปลาอาหารจะสมบูรณ์ พืชผลทางการเกษตรจะงอกงามดี ให้ผลผลิตมาก

aumpra002_158

ที่มาของประเพณีนี้มาจากการเล่าสืบๆ ต่อกันมาของคนรุ่นเก่าว่า ชาวประมงกลุ่มหนึ่งที่ออกหาปลาในลำน้ำป่าสักเป็นประจำทุกวัน วันหนึ่งเกิดเหตุประหลาด ตั้งแต่เช้าจนบ่ายหาปลาไม่ได้สักตัว ระหว่างที่นั่งปรึกษาหารือกันอยู่ว่าจะทำเช่นไปต่อไป กระแสนน้ำในลำน้ำป่าสักก็มีฟองน้ำผุดขึ้นมาเหมือนน้ำเดือด และกลายเป็นน้ำวนขนาดใหญ่ ที่กลางน้ำวนก็มีพระพุทธรูปลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ชาวประมงที่เห็นเหตุการณ์โดยตลอดจึงลงไปอัญเชิญขึ้นมาบนบก เพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชาและอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดไตรภูมิ และถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธมหาธรรมราชา


พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะลพบุรีทรงเครื่องกษัตริย์ พุทธลักษณะพระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อยจรดพระอังสะ พระเศียรทรงชฎาเทริด ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด ทรงประคดเป็นลานสวยงาม สร้างด้วยเนื้อทองสำริด หน้าตักกว้าง ๑๓ นิ้ว สูง ๑๘ นิ้ว ไม่มีฐาน

Phra-Buddha-Maha-Dhamma-raja



พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรภูมิได้ ๑ ปี จนกระทั่งถึงเทศกาลสารทไทย พระพุทธรูปเกิดหายไปอย่างไร้ร่องรอย ชาวบ้านจึงออกตามหา สุดท้ายไปพบว่าลอยน้ำอยู่ตรงจุดที่พบพระพุทธรูปองค์นี้เป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมา เมื่อถึงเทศกาลสารทไทย ซึ่งตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เจ้าเมือง ข้าราชการ ประชาชนชาวเพชรบูรณ์ จะร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปไปสรงน้ำ ณ จุดที่พบพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก



อีกความเชื่อหนึ่งกล่าวไว้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้ นามว่า พระพุทธมหาธรรมราชา ถูกอัญเชิญจากสุโขทัยไปไว้ที่เพชรบูรณ์ทางเรือ พร้อมกับให้มีการสร้างวัดใหม่เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้

801e465575bf53af29d139825916aeb1

เมื่อถึงวันสารทไทย ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์จะร่วมกันอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ขึ้นประดิษฐานบนบษบก แห่จากวัดไตรภูมิไปตามเส้นทางในเขตเทศบาล เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา ก่อนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์รับหน้าที่อัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานบนเรือหน้าวัดไตรภูมิ ทวนแม่น้ำป่าสักขึ้นไป และไปทำพิธีดำน้ำ ที่ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์จะอัญเชิญพระพุทธรูป ทูนไว้เหนือหัวค่อยๆ ดำน้ำลงไป โดยหันหน้าไปทางเหนือ ๓ ครั้ง และหันหน้าทางใต้ ๓ ครั้ง

ปัจจุบันประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ผู้ที่ทำหน้าที่อัญเชิญคือ ผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ในฐานะพ่อเมืองเทียบเท่ากับเจ้าเมืองในสมัยโบราณ เป็นผู้ที่ต้องดูแลสอดส่องทุกข์สุขของประชาชน เป็นผู้มีหน้าที่ทำนุบำรุงพระศาสนา ด้วยเหตนี้จึงมีเพียงผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่ทำหน้าที่นี้ ชาวเพชรบูรณ์เชื่อกันว่า ปีใดไม่มีการอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาดำน้ำ บ้านเมืองจะเกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง และพระพุทธรูปองค์นี้จะหายไปโดยหาสาเหตุไม่ได้อีกด้วย


Cr.ประเพณี.net
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
ตอนที่1 "ประเพณีตักบาตรเทโว"

36_20121024130859.

ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ซึ่งตรงกับช่วงสิ้นสุดการอยู่จำพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือนของภิกษุสงฆ์ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้พอดี ในทุกๆ ปี พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะถือเอาวันนี้เป็นวันสำคัญ จะร่วมกันทำบุญตักบาตรโดยจัดพิธีเป็นพิเศษกว่าการทำบุญตักบาตรทั่วไป เรียกการตักบาตรครั้งนี้ว่า ตักบาตรเทโว หรือการถวายบาตรพระภิกษุเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเป็นการทำบุญทำกุศลอุทิศให้แก่บรรพบุรุษ บิดามารดา ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เจ้ากรรมนายเวรและเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว
คำว่า เทโว มาจากคำว่า เทโวโรหณะ หมายถึงการเสด็จลงมาจากเทวโลกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเหตุการณ์หลังจากที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ทรงออกประกาศพระศาสนาไปทั่วชมพูทวีป เสด็จไปโปรดเทศนาพระญาติพระวงศ์ทั้งหลายจนได้ดวงตาเห็นธรรมตามสมควร คงเหลือแต่พระนางสิริมหามายา พุทธมารดาที่สิ้นพระชนม์ไปหลังจากที่มีพระประสูติกาลได้ ๗ วัน องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงดำริจะที่จะขึ้นไปเทศนาแสดงธรรมโปรดแด่พุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเป็นการสนองพระคุณ เป็นเวลา ๑ พรรษา ในพรรษาที่ ๗ หลังจากที่ทรงตรัสรู้ และเสด็จกลับลงมายังโลกมนุษยในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เมื่อเหล่าเทพบุตร เทพธิดา เทวดานางฟ้า มนุษย์ ภูติผีปีศาจ อสูรกาย ประชาชนทราบข่าวการเสด็จกลับลงมาจากดาวดึงส์ จึงพากันไปเข้าเฝ้าฯ รออยู่ที่เชิงบันไดเพื่อถวายบาตรแด่พระองค์กันอย่างเนื่องแน่น

163993
วัดแต่ละวัดจะอัญเชิญพระพุทธรูปที่คนในชุมชนเคารพนับถือขึ้นประดิษฐานบุษบก พร้อมกับวางบาตรไว้ด้านหน้า จัดเป็นขบวนแห่นำหน้าแถวพระภิกษุสงฆ์ สามเณร เพื่อรับบาตรจากญาติโยมทั้งหลาย บางวัดที่มีพระพุทธบาทจำลองอยู่บนเขา พระภิกษุสงฆ์จะเดินลงมาตามบันไดเชิงขาเพื่อรับบาตร เสมือนเหตการณ์ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ลงมาทางบันไดเชิงเขา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตักบาตรเทโว
มีการจัดถวายภัตตาหารคาวหวาน ข้าวสารอาหารแห้ง ดอกบัว ข้าวต้มโยน เนื่องจากในครั้งสมัยพุทธกาล มีประชาชนต่างมารอเฝ้ารับเสด็จฯ เป็นจำนวนมากทำให้ไม่สามารถใส่บาตรถึงตัวพระองค์ได้ จึงพากันอธิษฐานแล้วใส่บาตรแทน ซึ่งด้วยศรัทธาตั้งใจจริงทำให้อาหารที่โยนมานั้นตกลงในบาตรของพระพุทธองค์ได้พอเหมาะพอดี

นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกชนิดหนึ่งที่กล่าวถึงในพุทธประวัติสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์การเสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย นั่นคือ ข้าวมธุปายาส (ข้าวทิพย์) หรือข้าวที่กวนกับน้ำผึ้ง โดยข้าวทิพย์นี้จะประกอบพิธีกวนขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนวันออกพรรษา ๑ วัน โดยจะต้องให้เด็กหญิงที่ยังไม่มีประจำเดือน ๔ คน นุ่งขาว ห่มขาว ทำหน้าที่กวนข้าวทิพย์ การกวนข้าวทิพย์นี้ตามตำนานความเชื่อกล่าวไว้ว่า นางสุชาดาคือผู้ริเริ่มการปรุงข้าวมธุปายาสมาถวายองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาเหล่าเทพบุตร เทพธิดา เทวดานางฟ้า มนุษย์ ภูติผีปีศาจ อสูรกาย ได้รวมตัวกันประกอบพิธีกวนข้าวทิพย์เพื่อแจกจ่ายให้ได้นำไปถวายบาตรแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าร่วมกัน จึงเป็นที่มาของการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนและวัดที่จะรวมกันจัดพิธีกวนข้าวทิพย์เพื่อใช้ในการตักบาตรในวันตักบาตรเทโวนั่นเอง

Cr. ประเพณี.net

ตอนที่2
เงินเฟ้อ-เงินฝืด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เงินเฟ้อ คือ


1.เงินเฟ้อ คือ 
               ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
              ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำ โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งได้จากการสำรวจ 
               ตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การเกิดภาวะเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก 
 
               ปัจจัยแรก คือ แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน
               ปัจจัยที่สองเกิดจากด้านต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน
2. เงินฝืด คือ 
              ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น

Cr.http://guru.sanook.com/2578/
เศรษฐศาสตร์ ตอนที่1
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้มยำกุ้ง crisis

ประวัติของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

พ.ศ. 2540 มีการไหลเข้าของทุนรวมสู่ประเทศในทวีปเอเชีย โดยที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่สามารถรักษาอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง นักลงทุนชาวต่างชาติจึงเข้าสู่ภูมิภาคนี้กันมากขึ้น เราจะเห็นได้ว่า ผลดีคือ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย หรือมาเลเซีย มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอย่างมาก มีเงินเข้าภูมิภาคเป็นปริมาณมาก รวมทั้งมูลค่าสินทรัพย์สะสมก็เพิ่มขึ้น ในช่วงนั้นทวีปเอเชียได้รับการกล่าวว่าเข้าสู่ช่วง “ปาฏิหาริย์เศรษฐกิจแห่งเอเชีย” แต่ “พอล ครุกแมน” นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งไม่เห็นด้วยว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนี้จะเกิดผลดี เขากล่าวว่าการเจริญทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เกิดจากการลงทุน แต่ปัจจัยรวมด้านผลิตภาพนั้นแทบไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามหลักแล้วการเจริญโดยที่ปัจจัยรวมเพิ่มขึ้นนั้น ถือเป็นการเจริญที่แท้จริง คือมีความมั่นคง และมั่งคั่งในระยะยาว ซึ่งต่อมาก็ได้เกิดวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศไทย ในสมัยของรัฐบาล พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ

 การนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

          พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ รัฐบาลไทยสมัยนั้นประกาศลอยตัวค่าเงินบาท โดยตัดการอิงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ผลทำให้ค่าเงินบาทลดลงอย่างมาก

          ไม่นานวิกฤตินี้ก็ขยายสู่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งญี่ปุ่นอีกด้วย ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ มีการปรับตัวลดลง ส่วนภาคเอกชนก็มีหนี้สินเพิ่มขึ้น โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้น ได้แก่ เกาหลีใต้ ไทย และอินโดนีเซีย แต่ พ.ศ. 2542 เศรษฐกิจก็เริ่มฟื้นตัว

สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง 

          1. หนี้ต่างประเทศ : ประเทศไทยเกิดการขยายตัวทางระบบการเงิน เกิดการก่อหนี้ และการกู้เงินจากต่างประเทศ

          2. การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด : ประเทศไทยมีการพัฒนาการผลิตเพื่อส่งออก ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเกิดการขาดดุล อย่างต่อเนื่อง เพราะการส่งออกที่หดตัว

           3. ฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ : อาจเรียกว่าการลงทุนที่เกินตัว โดยช่วง พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2539  กิจการอสังหาริมทรัพย์เติบโตมาก แต่มีการกู้ยืมเงินต่างประเทศ  และการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อมาลงทุน ต่อมาราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ผู้ประกอบการจึงเข้ามาลงทุนกันจำนวนมากเพื่อเก็งกำไร ก่อให้เกิด “ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่”

            4. การดำเนินงานของสถาบันการเงิน

             5. การโจมตีค่าเงินบาท :  โดยนักลงทุนต่างชาติ มีการจัดตั้งกองทุน “Hedge Funds” เพื่อโจมตีค่าเงินบาทไทย  ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงนำเงินทุนสำรองถึง 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาปกป้องค่าเงินบาท เมื่อเงินสำรองมีน้อยลง ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจึงประกาศ “ลอยตัวค่าเงินบาท”  เมื่อ 2 ก.ค. 2540 เป็นการเริ่มต้นวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง

http://www.stock2morrow.com/
http://www.stock2morrow.com/

นาย george soros ผู้ดูแลกองทุน Quantum Fund หนึ่งในกองทุน Hedge Fund

ผลกระทบ และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา 

          – สัดส่วนระหว่าง หนี้ต่างประเทศ กับ GDP เพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น ประเทศในอาเซียนเพิ่มจาก 100% กลายเป็น180% ในช่วงที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติการณ์

          – IMF (หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) เข้ามารักษาเสถียรภาพสกุลเงินของ ประเทศอินโดนีเซีย ไทย และเกาหลีใต้ โดยการลงทุน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะ 3 ประเทศดังกล่าวได้รับผลกระทบมากที่สุด

          – ประเทศสิงคโปร์ และไต้หวัน ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยมาก จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจนี้

          – ธุรกิจของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงิน บ้านจัดสรร ปิดกิจการ พนักงานถูกปลด มีหนี้เกิดขึ้นมาก มีการกดดันให้รัฐบาลลาออก

          – ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามพยุงค่าเงินบาท โดยใช้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศจนหมด และต้องกู้จาก IMF จำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

          – สำหรับการแก้ไขนั้น ไม่มีแนวทางที่ชัดเจน IMF ให้แนวทางโดยดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด และปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน แต่ก็ส่งผลให้ปัญหาหนักขึ้น โดยราคาสินค้า และค่าบริการต่าง ๆ แพงขึ้น รัฐบาลชวน หลีกภัย ซึ่งรับตำแหน่งต่อจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ จึงเพียงประคองสถานการณ์ และให้ประชาชนหันมาใช้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ต่อมา รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จึงเริ่มสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินและการทำธุรกิจ โดยมีการสนับสนุน SMEs กองทุนหมู่บ้าน OTOP ประชาชนจึงมีรายได้เพิ่มขึ้น

แนวทางของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปี 2541

               1. รัฐเพิ่มงบประมาณขาดดุล

               2. เร่งอุปสงค์ โดยเพิ่มสินเชื่อมากขึ้น

              3. เปิดและจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น

                           – ให้สัญชาติไทยแก่ผู้เข้ามาลงทุน

                           – ปรับกฎหมายถือที่ดินของคนต่างด้าว

                           – ออก พรบ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

                           – ผ่อนปรนด้านภาษี

               4. เร่งอุปทานโดยเพิ่มการผลิต โดยเฉพาะด้านเกษตร อุสาหกรรมขนาดเล็ก-ขนาดกลาง (SMEs) และการท่องเที่ยว

               5. สร้างงาน – ด้านบริการและก่อสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ

               6. เพิ่มการส่งออก และลดการนำเข้า

               7. แก้ไขสภาพคล่องของสถาบันการเงิน

                8. มีการจัดตั้งบริษัท TAMC (บริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ) เพื่อแก้ปัญหา NPL


Cr.https://jariya4016.wordpress.com 
ประวัติศาสตร์ ตอนที่2 

 พระราชประวัติในหลวงของเรา


ท่านคือผู้ที่ปิดทองหลังพระ


ข้าพเจ้าขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป


ประวัติศาสตร์ ตอนที่1 
สงคราม9ทัพ


หลังจากที่กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ราชธานีแห่งใหม่ของชนชาติไทยก่อกำเนิดขึ้นมาได้เพียงสามปี ราชอาณาจักรแห่งนี้ก็ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ จากมหาสงครามที่จะชี้ชะตาถึงอนาคตของแผ่นดินแห่งนี้ว่าจะยังคงดำรงอยู่ต่อไปหรือต้องล่มสลายลงโดยมหาสงครามครั้งนี้ ถูกเรียกขานว่า สงครามเก้าทัพ
ในปีพุทธศักราช 2319 พระเจ้าช้างเผือกมังระ กษัตริย์พม่าแห่งอาณาจักรอังวะได้เสด็จสวรรคตลง จิงกูจาโอรส องค์ใหญ่ของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากสมเด็จพระราชบิดา หลังครองราชย์ พระเจ้าจิงกูจาได้สั่งปลดอะแซหวุ่นกี้ออกจากตำแหน่งและสั่งประหารพระอนุชาของพระองค์ ส่วนบรรดาพระอนุชาของพระเจ้ามังระนั้น พระองค์ได้มีบัญชาให้นำไปกักตัวไว้
พระเจ้าจิงกูจาทรงมีพระทัยโหดร้าย ชอบแต่เสวยสุรายาเมาและหลังเสพสุราก็มักทรงกระทำการทารุณต่าง ๆ อยู่เสมอ วันหนึ่ง พระองค์ได้ทรงมีรับสั่งให้นำเอาพระสนมเอกคนโปรดซึ่งเป็นบุตรของอะตวนหวุ่นไปประหารชีวิตด้วยการถ่วงน้ำและรับสั่งให้ถอดบิดานางลงเป็นไพร่ ทำให้อะตวนหวุ่นโกรธแค้นมาก จึงไปสมคบกับอะแซหวุ่นกี้และตะแคงปดุง (มังแวง) พระอนุชาของพระเจ้ามังระ ฉวยโอกาสที่พระเจ้าจิงกูจาเสด็จออกประพาสหัวเมืองก่อการกบฎและยกเอา มังหม่อง ผู้เป็นโอรสของพระเจ้ามังลอกพระเชษฐาของพระเจ้ามังระขึ้นครองราชบัลลังก์
ทว่าหลังจากนั้นมังหม่องกลับควบคุมสถานการณ์ไว้มิได้ โดยปล่อยให้บรรดาโจรป่าที่เป็นสมัครพรรคพวกของพระองค์ทำการปล้นสะดมภ์ผู้คนจนเกิดความวุ่นวายไปทั่วกรุงรัตนปุระอังวะ ในที่สุดหลังจากที่มังหม่องนั่งเมืองได้เพียงสิบเอ็ดวัน ตะแคงปดุงจึงได้ร่วมกับเหล่าเสนาอำมาตย์จับตัวมังหม่องสำเร็จโทษเสีย จากนั้นจึงได้ขึ้นครองราชสมบัติกรุงอังวะแทน ทรงมีพระนามว่า พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าช้างเผือก แต่เป็นที่รู้จักในพระราชพงศาวดารของไทยในพระนาม พระเจ้าปดุง หรือที่ในภาษาพม่าเรียกว่า พระเจ้าโบดอพญา
แผนที่เมืองหลวงของประเทศพม่า ในสมัยของพระเจ้าปดุง
ในเวลานั้น พระเจ้าจิงกูจาได้ทรงทราบว่าเกิดกบฏขึ้นในกรุงอังวะ จึงคิดจะทรงหลบหนีไปยังเมืองกะแซ แต่ด้วยความเป็นห่วงพระราชชนนีจึงลอบมาใกล้กรุงอังวะและส่งหนังสือเข้าไปทูลแจ้งว่าจะทรงหลบหนีไปอยู่เมืองกะแซ แต่พระราชชนนีทรงห้ามปรามว่า ธรรมดาเมื่อเกิดเป็นกษัตริย์แล้ว หากแม้นจะต้องตายก็ควรตายในเมืองของตัว หาควรหนีไปพึ่งเมืองน้อยอันเคยเป็นข้าไม่ ทำให้พระองค์ทรงเกิดมีขัตติยะมานะและเสด็จนำข้าหลวงที่มีอยู่กลับเข้าเมือง พวกทหารที่เฝ้าอยู่ เห็นพระเจ้าจิงกูจาเสด็จมาอย่างอาจหาญก็เกิดความเกรงกลัวไม่กล้าจับกุม ฝ่ายอะตวนหวุ่นซึ่งมีความเจ็บแค้นที่พระสนมเอกบุตรสาวของตนถูกพระเจ้าจิงกูจาสั่งประหารได้ทราบเข้า จึงนำคนมาล้อมจับและได้ฟันพระองค์สิ้นพระชนม์ที่ในเขตพระราชฐาน
เมื่อพระเจ้าปดุงทรงทราบความก็ทรงพระพิโรธว่า อะตวนหวุ่นทำการโดยพลการ สังหารพระเจ้าจิงกูจาแทนที่จะจับมาถวายพระองค์ จึงทรงให้เอาตัวอะตวนหวุ่นไปประหารเสีย
ในขณะที่เกิดเหตุแย่งชิงราชบัลลังก์กันในกรุงอังวะนั้น บรรดาเมืองขึ้นต่าง ๆ ของกรุงอังวะได้ถือโอกาสแข็งเมืองจนถึงกับมีบางหัวเมืองที่บังอาจคุมพลยกไปปล้นกรุงอังวะอันเป็นราชธานีก็มี พระเจ้าปดุงจึงได้ทรงยกทัพไปโจมตีหัวเมืองต่าง ๆ ที่แข็งข้อได้จนหมดสิ้น จากนั้นได้ทรงโปรดฯ ให้สร้างราชธานีแห่งใหม่ ชื่อว่า กรุงอมรปุระและเริ่มทำสงครามกับประเทศใกล้เคียงเพื่อแผ่ขยายพระราชอำนาจ
ล่วงถึงปีพุทธศักราช 2328 หลังจากทรงได้รับชัยชนะเหนืออาณาจักรยะข่ายทางทิศตะวันตกและแคว้นมณีปุระทางทิศเหนือ พระเจ้าปดุงก็หมายพระทัยจะแผ่พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์ยิ่งขึ้นไปอีก โดยในเวลานั้น พระองค์ได้ทรงทราบมาว่า ไทยเพิ่งจะตั้งราชธานีใหม่ นามว่า กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์
พระเจ้าปดุงจึงทรงหมายจะทำลายกรุงรัตนโกสินทร์และพิชิตชนชาติไทยไว้ในพระราชอำนาจเฉกเช่นดังพระเจ้าช้างเผือกสิบทิศบุเรงนองในอดีตและพระเจ้ามังระผู้เป็นพระเชษฐาของพระองค์
ทั้งนี้ เพื่อให้ทรงบรรลุพระประสงค์ พระเจ้าปดุงได้ทรงเกณฑ์รี้พลจากทุกชาติทุกภาษาในราชอาณาจักรทั้ง พม่า มอญ เงี้ยว ยะข่าย มณีปุระและชนชาติอื่น ๆ รวมทั้งสิ้นหนึ่งแสนสี่หมื่นสี่พันคน จัดเป็นทัพทั้งหมดเก้ากองทัพ โดยกำหนดแผนให้เข้าโจมตีไทยจากห้าเส้นทางพร้อมกัน ดังนี้
ทัพที่หนึ่ง มีพลรบหนึ่งหมื่น ม้าศึกหนึ่งพัน กำหนดให้ยกเข้าทางด่านสิงขร เมืองมะริด มีพลหนึ่งหมื่นแบ่งเป็นทัพบก ทัพเรือ ทัพบกให้แมงยีแมงข่องกยอเป็นแม่ทัพ ถือพลเจ็ดพัน เข้าตีหัวเมืองฝ่ายใต้ทางบกของไทย ตั้งแต่ชุมพร เรื่อยไปถึงสงขลา ส่วนทัพเรือให้ยี่หวุ่นเป็นแม่ทัพ ถือพลสามพัน กำปั่นรบ 15 ลำ  เข้าตีหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตกของไทยตั้งแต่ตะกั่วป่าไปจนถึงเมืองถลาง
ทัพที่สอง ให้อนอกแฝกคิดหวุ่น (อะ-นอ-กะ-แฝก-คิด-หวุ่น) เป็นแม่ทัพ ถือพลรบหนึ่งหมื่น ม้าศึกหนึ่งพัน โดยยกเข้าทางด่านบ้องตี้ เข้าตีราชบุรี เพชรบุรี จากนั้นให้ไปบรรจบกับทัพที่หนึ่งที่เมืองชุมพร
ทัพที่สาม ให้หวุ่นคะยีสะโดศิริมหาอุจจนา เจ้าเมืองตองอู เป็นแม่ทัพ ถือพลรบสามหมื่น ม้าศึกสามพันให้ยกเข้าทางเชียงใหม่ ให้ตี นตรลำปาง สวรรคโลก สุโขทัย พิษณุโลก จากนั้นให้ยกลงมาสมทบกับทัพหลวงที่กรุงเทพ
สำหรับกองทัพที่สี่, ห้า, หก, เจ็ด และแปดนั้นจะเข้าตีกรุงเทพโดยตรง มีพลรวมทั้งสิ้นแปดหมื่นเก้าพัน โดยแบ่งออกเป็น
ทัพที่สี่ ให้เมียนหวุ่นแมงยีมหาทิมข่อง เป็นแม่ทัพ ถือพลหนึ่งหมื่นหนึ่งพัน ม้าศึกหนึ่งพันหนึ่งร้อย เป็นทัพหน้าเข้าทางด่านพระเจดีย์สามองค์
ทัพที่ห้า ให้เมียนเมหวุ่นเป็นแม่ทัพถือพลรบห้าพันม้าศึกห้าร้อยเข้าทางด่านพระเจดีย์สามองค์ คอยหนุนทัพที่สี่
ทัพที่หก ให้ศิริธรรมราชา ราชบุตรองค์ที่สอง เป็นแม่ทัพ ถือพลรบหนึ่งหมื่นสองพัน ม้าศึกหนึ่งพันสองร้อย เป็นทัพหน้าที่หนึ่งของทัพหลวง ยกเข้าทางด่านพระเจดีย์สามองค์
ทัพที่เจ็ด ให้สะโตทันซอ ราชบุตรองค์ที่สาม เป็นแม่ทัพถือพลรบหนึ่งหมื่นหนึ่งพัน ม้าศึกหนึ่งพันหนึ่งร้อย  เป็นทัพหน้าที่สองของทัพหลวง ยกเข้าทางด่านพระเจดีย์สามองค์
ทัพที่แปด ทัพหลวง มีพระเจ้าปดุงทรงเป็นจอมทัพ ถือพลห้าหมื่น ม้าศึกห้าพัน ช้างรบห้าร้อย ยกเข้าทางด่านพระเจดีย์สามองค์
ส่วนทัพที่เก้าซึ่งเป็นกองทัพสุดท้าย นั้น ให้จอข่องนรธา เป็นแม่ทัพถือพลห้าพัน ม้าศึกห้าร้อย ยกเข้าทางด่านแม่ละเมา ตีเมืองตาก กำแพงเพชร จากนั้นให้ลงมาบรรจบกับทัพหลวงที่กรุงเทพ
ในประวัติศาสตร์ไทยเรียกสงครามครั้งนี้ว่า “สงครามเก้าทัพ
หลังจากระดมไพร่พลแล้ว ฝ่ายอังวะได้มาประชุมพลที่เมืองเมาะตะมะ ทว่าไม่อาจเคลื่อนทัพต่อ เนื่องจาก เสบียงไม่เพียงพอ พระเจ้าปดุงทรงพิโรธแมงยีแมงข่องกยอ แม่ทัพที่หนึ่ง ซึ่งพระองค์มีพระบัญชาให้ไประดมเสบียงมาส่งให้กองทัพ แต่ แมงยีแมงข่องกยอ กลับหาเสบียงได้ล่าช้า ทำให้เสียเวลาเคลื่อนทัพ พระเจ้าปดุงจึงให้ประหารแมงยีแมงข่องกยอเสีย และให้ เกงหวุ่น แมงยี มหาสีหสุระ รั้งตำแหน่งแม่ทัพที่หนึ่งแทน จากนั้นก็ทรงเร่งให้กองทัพทั้งหมดเคลื่อนพลเข้าสู่เขตแดนไทย
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทางฝ่ายไทย หลังจากที่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงทราบว่า พม่ากำลังยกทัพมาทำสงคราม พระองค์ก็ทรงโปรดฯ ให้เกณฑ์ไพร่พลเพื่อรับศึก ทว่ากำลังรี้พลของฝ่ายไทยในเวลานั้นมีเพียงเจ็ดหมื่นหรือเพียงครึ่งของทัพข้าศึกเท่านั้น
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่า หากปล่อยให้ข้าศึกยกเข้ามาถึงพระนครจะไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายไทย จึงทรงโปรดฯให้จัดทัพไปตั้งรับศึกที่นอกเมือง แต่เนื่องจากฝ่ายไทยมีกำลังน้อยกว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงตัดสินพระทัยที่จะรับศึกในทางที่สำคัญก่อน โดยทรงมีพระบัญชาให้จัดกำลังพลดังนี้
ทัพที่หนึ่ง มีสมเด็จพระอนุชาของพระองค์ คือ สมเด็จวังหน้า พระมหาอุปราชกรมพระราชบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพคุมไพร่พล 30,000 นาย ยกไปตั้งทัพยังทุ่งลาดหญ้า เมืองกาญจนบุรี เพื่อต้านทานข้าศึกที่เข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์
thaiwar
พระมหาอุปราชกรมพระราชบวรมหาสุรสิงหนาท
ทัพที่สอง สมเด็จวังหลัง พระเจ้าหลานเธอกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศน์  คุมไพร่พล 15,000 นาย ยกขึ้นเหนือไปตั้งรับข้าศึกที่มาจากเชียงแสนและทางด่านแม่ละเมา
ทัพที่สาม มีพล 5,000 นาย ให้ เจ้าพระยาธรรมมาและพระยายมราชเป็นแม่ทัพยกไปตั้งมั่นยังราชบุรีเพื่อสกัดทัพข้าศึกที่จะเข้ามาทางด่านบองตี้ ส่วนสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงคุมทัพที่สี่ ซึ่งมีไพร่พล 20,000 นาย ตั้งมั่นยังพระนครเพื่อคอยหนุนช่วยกองทัพอื่น ๆ
ในการรบที่ลาดหญ้า  สมเด็จวังหน้าทรงให้ ออกญามหาโยธาคุมทหารมอญ 3,000 คนเป็นกองหน้าไปตั้งสกัดข้าศึกที่ด่านกรามช้าง ส่วนทัพใหญ่ตั้งค่ายมั่นที่ทุ่งลาดหญ้าตรงช่องสะเดาใกล้กับเขาชนไก่ และยังทรงให้ตั้งค่ายอีกค่ายหนึ่งที่ปากแพรก (ปัจจุบันคือ ตัวเมืองกาญจนบุรี) 
ทุ่งลาดหญ้า
ในยามนั้น กองทัพที่ 4 และ 5 ของอังวะซึ่งมีรี้พลรวม 16,000 นาย สามารถตีด่านกรามช้างแตกและรุกไล่ทัพมอญมาจนถึงทุ่งลาดหญ้า จนเข้าปะทะกับกองทัพไทย ในการรบกันครั้งแรก ฝ่ายไทยสามารถตีข้าศึกถอยร่นไปได้และล้อมจับทหารอังวะได้กองหนึ่งพร้อมนายทัพชื่อ กุลาหวุ่น
เมื่อเห็นว่า กำลังข้างไทยเข้มแข็งนัก เมหวุ่น และเหมียนหวุ่นจึงให้ตั้งค่ายมั่นตรงเชิงเขาประจัญหน้ากับฝ่ายไทยเพื่อรอกำลังหนุนจากกองทัพที่หก เจ็ดและแปด ซึ่งยกติดตามมาจากเมาะตะมะ โดยระหว่างนั้น ฝ่ายพม่าได้สร้างหอรบบรรทุกปืนใหญ่ใช้ระดมยิงค่ายไทยสังหารไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก สมเด็จวังหน้าทรงแก้สถานการณ์โดยให้นำท่อนไม้มาทำเป็นลูกปืนบรรจุในปืนใหญ่ชนิดปากกระบอกกว้างยิงใส่หอรบข้าศึกพังพินาศ จนฝ่ายอังวะไม่กล้าออกมานอกค่ายอีก
เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงเสบียงของข้าศึก สมเด็จวังหน้าจึงทรงให้ ออกญาสีหราชเดโช ออกญาท้ายน้ำ และออกญาเพชรบุรีคุมไพร่พล 500 นาย เป็นกองโจรไปดักปล้นเสบียงพม่า ทว่าทั้งสามกลับหวาดกลัวข้าศึกและหลีกหนีหน้าที่ สมเด็จวังหน้าจึงทรงให้ประหารชีวิตเสียและให้เจ้าขุนเณร ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างมารดาของกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศน์คุมกำลังนักรบกองโจรแทน
กองโจรของเจ้าขุนเณรปล้นทำลายเสบียงพม่าได้เป็นอันมาก โดยครั้งหนึ่งฝ่ายอังวะได้ลำเลียงเสบียงเป็นการใหญ่ เพื่อป้องกันการถูกปล้น โดยใช้ช้างศึก 60 เชือกขนเสบียงและมีไพร่พลคุมกันหลายร้อยคน ทว่าก็ยังถูกกองโจรของเจ้าขุนเณรปล้นชิงและทำลายได้จนหมดสิ้น
(กองโจรเจ้าขุนเณรดักปล้นเสบียงพม่า)
นอกจากส่งกองโจรปล้นเสบียงแล้ว สมเด็จวังหน้ายังให้ออกญาจ่าแสนยากรคุมไพร่พล 10,000 นาย ลอบออกจากค่ายในยามดึกและแต่งขบวนเดินกลับเข้ามาใหม่ในยามเช้า โดยให้ทำเช่นนี้สามสี่ครั้ง เพื่อลวงให้ข้าศึกคิดว่าฝ่ายไทยมีกำลังมาหนุนเพิ่มเติม ทำให้ขวัญกำลังใจของฝ่ายอังวะเสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ
ระหว่างที่ทัพไทยยังตั้งมั่นเผชิญหน้าข้าศึกที่ลาดหญ้าอยู่นั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเป็นห่วงเนื่องจากไม่ได้ข่าวเป็นเวลานับเดือน จึงเสด็จนำทัพมาหนุนยังลาดหญ้า ครั้นเมื่อสมเด็จวังหน้ากราบทูลสถานการณ์ให้ทรงทราบ จึงสิ้นห่วงและเสด็จนำทัพกลับพระนคร
ในที่สุดหลังจากตั้งมั่นมาได้สามเดือน กองทัพอังวะที่ช่องสะเดาก็ขาดแคลนเสบียงอาหาร ขณะที่กองทัพอื่น ๆ ซึ่งยกตามมา ก็ประสบปัญหาเดียวกัน จนทำให้การเคลื่อนพลต่อไม่อาจทำได้ การขาดแคลนเสบียงทำให้ทหารอังวะเจ็บป่วยล้มตายลงเป็นอันมาก สุดท้าย เมื่อทรงเห็นว่าสถานการณ์ไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายตน พระเจ้าปดุงจึงมีรับสั่งให้ถอนทัพหลวงกลับไปตั้งมั่นยังเมาะตะมะ
(ทัพไทยทำลายค่ายพม่า)
ข่าวทัพหลวงอังวะถอยทัพรู้ถึงฝ่ายไทยอย่างรวดเร็ว สมเด็จวังหน้าจึงทรงนำทัพไทยเข้าตีค่ายพม่าที่ลาดหญ้าเพื่อทำลายข้าศึกให้สิ้นซาก หลังการรบอันดุเดือด ฝ่ายไทยก็ตีค่ายพม่าได้ทั้งหมด สังหารข้าศึกได้ถึงหกพันคน และจับเป็นเชลยได้อีกหลายพันคน ทำให้กองทัพพม่าที่เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์แตกพ่ายและล่าถอยไปจนหมดสิ้น
หลังจากได้ชัยชนะที่ทุ่งลาดหญ้าแล้ว สมเด็จวังหน้าได้เสด็จนำทัพกลับพระนคร ระหว่างทางได้ปะทะกับทัพที่สองของอังวะที่เข้ามาทางด่านบ้องตี้จนล่วงเข้าใกล้เมืองราชบุรีและตีข้าศึกแตกพ่ายไป สมเด็จวังหน้าได้ลงโทษปลดเจ้าพระยาธรรมาและออกญายมราชออกจากตำแหน่ง ในฐานที่ละเลยหน้าที่จนปล่อยให้ข้าศึกยกเข้ามาจนเกือบประชิดเมืองราชบุรีโดยมิได้ระแคะระคาย 
ชัยชนะเหนือกองทัพข้าศึกทางด่านเจดีย์สามองค์และด่านบ้องตี้ ทำให้ฝ่ายไทยมีกำลังพลพอไปจัดการกับข้าศึกทางด่านอื่น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงให้สมเด็จวังหน้านำทัพสองหมื่นลงใต้ไปปราบปรามทัพอังวะที่เข้ามาทางด่านสิงขร ส่วนพระองค์ยกพลสองหมื่นขึ้นไปปราบปรามข้าศึกทางเหนือ
พญากาวิละ
โดยในเวลานั้นทางภาคเหนือ ทัพของเจ้าเมืองตองอูที่ยกมาจากเชียงแสนได้เข้าตีเมืองลำปางของพญากาวิละแต่ไม่อาจเอาชนะได้ จึงตั้งทัพล้อมเมืองไว้ และแบ่งกำลังพล 5,000 ยกลงมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือได้ทั้งหมดก่อนจะมาตั้งค่ายมั่นที่ปากพิง เมืองพิษณุโลก ส่วนทัพที่เก้าของจอข่องนรทาได้ยึดเมืองตากไว้ได้และตั้งค่ายมั่นรอสมทบกับทัพใหญ่ของเจ้าเมืองตองอูอยู่ที่นั่น
ต่อมา หลังจากที่กองทัพของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาถึงเมืองพิจิตรก็ทรงให้ข้าหลวงถือสาส์นไปเร่งให้กรมพระราชวังหลัง เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศน์เร่งนำทัพเข้าตีทัพอังวะซึ่งมาตั้งที่ปากพิง เมืองพิษณุโลกจนแตกพ่าย สังหารข้าศึกได้กว่า 800 นาย จนศพลอยเต็มแม่น้ำ 
(การรบที่ปากพิง)
ขณะเดียวกันทัพที่เก้าของฝ่ายอังวะที่เข้ามาทางด่านแม่ละเมาและยึดเมืองตากเอาไว้ได้นั้น เมื่อทราบข่าวค่ายปากพิงแตกแล้วก็เกิดหวาดเกรงจึงล่าถอยออกไป จากนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงให้กรมหลวงจักรเจษฎาและกรมพระราชวังหลังยกทัพไปตีทัพหลวงของกองทัพที่สามของอังวะที่ล้อมเมืองลำปางอยู่ โดยมีพญากาวิละคอยต่อสู้ป้องกันเมืองจากกองทัพพม่าอย่างเข้มแข็ง ครั้นเมื่อทัพจากพระนครยกไปถึง พญากาวิละก็ระดมไพร่พลยกออกมาช่วยทัพกรุงตีกระหนาบทัพพม่าจนฝ่ายข้าศึกต้องแตกพ่ายล่าถอยกลับไปยังเมืองเชียงแสน
อนุสาวรีย์ คุณหญิงจันและนางมุก
ส่วนทางใต้ กองทัพเรือของอังวะซึ่งมีไพร่พล 3,000 นาย ได้เข้าตีเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งได้ และยกมาตีเมืองถลาง แต่ถูก คุณหญิงจัน ภริยาม่ายของเจ้าเมืองถลาง และนางมุกผู้เป็นน้องสาวรวบรวมชาวบ้านทั้งหญิงชายต่อต้านจนทัพอังวะต้องล่าถอยกลับไป
(ศึกถลาง)
ขณะที่ทางด้านทัพบกของอังวะได้ใช้กลอุบายจนยึดเมืองนครศรีธรรมราชได้ ทว่าเมื่อเกงหวุ่น แม่ทัพที่หนึ่งของอังวะ ทราบว่าทัพของสมเด็จวังหน้าได้ยกลงมาจากกรุงเทพ ฝ่ายอังวะก็ได้ส่งทัพมาตั้งรับที่เมืองไชยา ทั้งสองฝ่ายเข้าปะทะกันอย่างดุเดือด ก่อนที่ฝ่ายไทยจะตีทัพพม่าแตกพ่ายไปได้ เกงหวุ่นจึงให้ถอยทัพกลับไปทางด่านสิงขร และเป็นอันสิ้นสุดสงครามเก้าทัพลง
อย่างไรก็ตาม พระเจ้าปดุงยังมิได้ทรงยอมแพ้และได้ส่งกองทัพมาตีไทยอีกครั้งในปีพุทธศักราช 2329  แต่ก็แตกพ่ายไปที่ท่าดินแดงและสามสบ เขตเมืองกาญจนบุรี จากนั้นพระองค์ยังทำสงครามกับฝ่ายไทยอีกหลายครั้งแต่ก็พ่ายแพ้ไปทุกครั้ง จนฝ่ายพม่าสิ้นความพยายามที่จะเอาชนะไทยอีก และราชอาณาจักรไทยก็สามารถอยู่ยั้งยืนมาได้นับแต่นั้นจนถึงทุกวันนี้

Cr.http://www.komkid.com 

บล็อกของเพื่อนๆกลุ่มเรียนวันศุกร์