ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาแต่โบราณ การสืบราชสมบัติหรือการสืบราชสันตติวงศ์มีการพัฒนาสืบเนื่องมาตั้งแต่ยังไม่มีกฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนที่แน่นอนจนมาถึงได้กำหนดเป็นหลักเกณฑ์ที่เป็นระเบียบมีความชัดเจนและแน่นอน เพื่อเป็นหลักประกันความคงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์เพราะจะทำให้รู้ว่าประมุขในรูปแบบนี้มีที่มาอย่างไรและจะยังคงอยู่ต่อไปไม่ขาดช่วงและจะเกิดความแน่นอนและไม่ทำให้ราษฎรสับสน ดังที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับประวัติศาสตร์ของชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้
ความหมาย
“สืบราชบัลลังก์ หรือ สืบราชสมบัติ” หมายถึง เป็นพระมหากษัตริย์ต่อเนื่องแทน
“สืบราชสันตติวงศ์” หมายถึง ครองราชย์สมบัติต่อจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนซึ่งอยู่ในราชวงศ์เดียวกัน เช่น กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.๒๔๖๗
“การสืบราชสมบัติ” หมายถึง การขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งนับต่อเนื่องจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนมิให้ขาดตอนกัน อันเป็นธรรมเนียมในนานาประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐหรือประเทศ
“กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์” หมายถึง กฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสืบราชสมบัติ
“การสืบราชสันตติวงศ์” หมายถึง การขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ต่อเนื่องแทนพระมหากษัตริย์องค์ก่อนในราชวงศ์เดียวกัน อันเป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์และรัฐธรรมนูญ
ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป ประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตลอดมา การสืบราชสมบัติในอดีตมิได้มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเป็นระเบียบแบบแผน หากจะมีเพียงกฎมณเฑียรบาล ซึ่งอาจจะกำหนดในเรื่องอื่นๆ ไว้ แต่มิได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับการสืบราชสมบัติหรือการสืบราชสันตติวงศ์ไว้อย่างชัดเจน คงเป็นเพราะเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ
จนมาถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ในปี พ.ศ.๒๔๖๗ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ขึ้น เพื่อ “เป็นหลักฐานแถลงราชนิติธรรม” กำหนดกฎเกณฑ์ในการสืบราชสมบัติอย่างชัดเจน นับเป็นกฎมณเฑียรบาลที่สำคัญยิ่งกว่ากฎมณเฑียรบาลทั้งปวง และเป็นการแสดงความเป็นอารยประเทศอย่างยิ่งเพราะบรรดาประเทศทั้งหลายย่อมต้องมีกฎหมายกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับประมุขของตนให้เป็นที่ปรากฏชัดแจ้ง เป็นการตัดความหวาดระแวงและความไม่แน่นอนต่างๆ ในเกือบทุกประเทศถึงกับกำหนดลงไว้อย่างละเอียดในรัฐธรรมนูญ เช่น เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
- การสืบราชสมบัติก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย
ประเพณีการสืบราชสมบัติของไทยแต่เดิมจะมีระเบียบแบบแผนอย่างใดไม่ปรากฏ แม้จะเคยมีกฎมณเฑียรบาลตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ก็มิได้แสดงว่าเมื่อราชบัลลังก์ว่างลงใครจะเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายและจะเข้าสู่ตำแหน่งพระมหากษัตริย์โดยวิธีใด
นักประวัติศาสตร์ไทยสันนิษฐานว่า เป็นเรื่องตามพระราชอัธยาศัยเพราะเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่ละองค์ที่จะทรงกำหนดยกราชสมบัติให้แก่ผู้ใด แต่มีการกำหนดตำแหน่ง “พระมหาอุปราช” ซึ่งมักจะเป็นผู้ได้รับราชสมบัติเมื่อราชบัลลังก์ว่างลง มิใช่พระราชโอรส พระราชอนุชา หรือพระราชนัดดา แต่ถ้าไม่มีการสถาปนาพระมหาอุปราชและพระมหากษัตริย์มิได้ทรงกำหนดสถาปนาใครไว้ อำนาจในการเลือกผู้สืบราชสมบัติมักตกอยู่แก่พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงกำหนดตำแหน่งซึ่งเคยมีมาในสมัยอยุธยาขึ้นมาใหม่คือ ตำแหน่ง “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” (วังหน้า) แทนตำแหน่ง “พระมหาอุปราช” และเป็นธรรมเนียมตั้งแต่นั้นมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งจะเป็นผู้สืบราชสมบัติต่อไปในทำนองรัชทายาท และแต่งตั้งตำแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร”
ในรัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งพระราชอนุชา คือ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล องค์แรก แต่เสด็จทิวงคตลง จึงได้ทรงตั้งพระราชโอรส คือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร(อิม) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล องค์ที่สอง และได้สืบราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๒
ในรัชกาลที่ ๒ ทรงตั้งพระอนุชา คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ (จุ้ย) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นองค์ที่ ๓ แต่ก็เสด็จทิวงคตก่อน
ในรัชกาลที่ ๓ ทรงตั้งพระปิตุลา คือ พระองค์เจ้าอรุโณทัย กรมหมื่นศักดิผลเสพย์ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล องค์ที่ ๔
ในรัชกาลที่ ๔ มิได้ทรงตั้งใครดำรงตำแหน่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ในรัชกาลที่ ๕ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่พร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์กรมขุนพินิตประชานาถ ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และอัญเชิญกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล องค์ที่ ๕
เมื่อกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จทิวงคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงยกเลิกตำแหน่ง “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” ทันที โดยมีพระราชหัตถเลขาอธิบายว่า “ผู้ที่อยู่ต่างประเทศก็ไม่อาจที่จะเข้าใจตำแหน่งนั้นได้ชัดเจน...เป็นตำแหน่งลอยอยู่ มิได้มีคุณต่อแผ่นดินอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นแต่ต้องใช้เงินแผ่นดินซึ่งจะต้องใช้รักษาตำแหน่งยศพระมหาอุปราชอยู่เปล่าฯ”
หลังจากทรงยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว ในปี พ.ศ.๒๔๒๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร อันเป็นตำแหน่งรัชทายาท เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Crown Prince แต่ก็เสด็จทิวงคตในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ที่สอง และต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
หลังจากนั้นก็ไม่มีการสถาปนาตำแหน่งดังกล่าวอีก จนกระทั่งมาถึงในรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ ๙) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร นับเป็นพระองค์ที่ ๓ ซึ่งถือเป็นรัชทายาท
ในปี พ.ศ.๒๔๖๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายขึ้นฉบับหนึ่งชื่อว่า “กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗” ด้วยเหตุผลว่า “ให้มีนิติธรรมกำหนดการสืบราชสันตติวงศ์ขึ้นไว้ เพื่อที่จะได้ตัดความยุ่งยากแก่งแย่งภายในพระราชวงศ์ ในเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทขึ้นไว้โดยแน่นอน”
- การสืบราชสมบัติภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การสืบราชสมบัติอยู่บ้างในแง่ที่ว่าทำให้กฎเกณฑ์นั้นมั่นคงเป็นหลักฐานมากขึ้น คือพระราชอำนาจในการกำหนดรัชทายาทหรือผู้สืบราชสันตติวงศ์ ซึ่งต่อไปนี้จะต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด จะเป็นไปโดยพระราชพินัยกรรมอีกหาได้ไม่
การสืบราชสมบัติภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย จะต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ โดยใช้ประกอบกับกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗
สรุปได้ว่า ตำแหน่งหรือผู้มีสิทธิที่มีสิทธิในการสืบราชสมบัติของไทย ดังนี้
๑. การกำหนดตำแหน่ง
ในสมัยอยุธยา ได้กำหนดตำแหน่ง “พระมหาอุปราช”
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ กำหนดตำแหน่ง “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” (วังหน้า) และเปลี่ยนเป็นตำแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” หรือในกรณีที่ไม่ได้ทรงกำหนดตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารไว้ เจ้านายเชื้อพระวงศ์ก็ต้องได้รับสมมติยกย่องจากพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและขุนนางอันเชิญขึ้นครองราชย์
๒. การแต่งตั้งเป็นรัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาล หรือโดยพระราชพินัยกรรม
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ กำหนดตำแหน่ง “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” (วังหน้า) และเปลี่ยนเป็นตำแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” หรือในกรณีที่ไม่ได้ทรงกำหนดตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารไว้ เจ้านายเชื้อพระวงศ์ก็ต้องได้รับสมมติยกย่องจากพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและขุนนางอันเชิญขึ้นครองราชย์
๒. การแต่งตั้งเป็นรัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาล หรือโดยพระราชพินัยกรรม
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ แม้จะมีการตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ขึ้นแล้ว แต่ก็ทรงทำพระราชพินัยกรรมไว้ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๘ ว่าถ้าทรงมีพระราชโอรส ให้พระราชโอรสสืบราชสมบัติ ถ้ายังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะให้สมเด็จพระน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปก เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต้ถ้าไม่มีพระราชโอรสก็ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์
๓. การสืบราชสันตติวงศ์เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗
๓. การสืบราชสันตติวงศ์เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยมีรัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ว่าจะต้องมีฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา) เข้ามามีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการเห็นชอบหรือรับทราบการสืบราชสันตติวงศ์ ทั้งนี้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดไว้
พระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ขึ้นครองราชย์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ในปี พ.ศ.๒๔๗๗ เป็นอันว่ากฎและเกณฑ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ได้เริ่มใช้เป็นผลอย่างแท้จริงในเวลาอีก ๑๐ ปี ต่อมาภายหลังประกาศใช้ และพระองค์ที่สอง คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) รัชกาลปัจจุบัน
พระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ขึ้นครองราชย์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ในปี พ.ศ.๒๔๗๗ เป็นอันว่ากฎและเกณฑ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ ได้เริ่มใช้เป็นผลอย่างแท้จริงในเวลาอีก ๑๐ ปี ต่อมาภายหลังประกาศใช้ และพระองค์ที่สอง คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) รัชกาลปัจจุบัน
ฉันเสียเวลาไปมากในการมองหาคาสิโนออนไลน์ที่ดีในประเทศไทย แต่ละคนมีงานอดิเรกของตัวเอง เมื่อลองเดิมพันกีฬาล็อตโต้แล้วฉันเลือกคาสิโนออนไลน์ ต่อไปฉันมีงานที่ค่อนข้างยาก - เพื่อค้นหาไซต์ที่เหมาะสม https://sbobet-sports.com/sbobet8888/ ความง่ายในการลงทะเบียนอาจเป็นหนึ่งในความแตกต่างที่สำคัญเหนือคู่แข่ง ลองดูด้วยนะ
ตอบลบ